ไม่ใช่ทุกคนดื่มได้ น้ำย่านาง แม้นมีประโยชน์มาก แต่ควรรู้ ใครดื่มได้ ใครดื่มไม่ได้

ไม่ใช่ทุกคนดื่มได้ น้ำย่านาง แม้นมีประโยชน์มาก แต่ควรรู้ ใครดื่มได้ ใครดื่มไม่ได้

สุดยอดสมุนไพรชื่อดังที่มีสรรพคุณดีๆมากมาย ทั้งลดพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยล้างพิษ บำรุงร่างกาย แต่ก่อนจะดื่มรู้หรือไม่ว่า ย่านางมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ใครดื่มได้ ใครดื่มไม่ได้

ย่านาง เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น การกินย่านางติดต่อกันเป็นเวลานานๆ จะทำให้ร่างกาย เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ทำให้เกิดอาการมือชา แขนขาชา และปวดศีรษะได้

โดยเฉพาะคนที่มีความดันโลหิตต่ำ เลือดจาง และอ่อนเพลียง่าย เพราะการกินเป็นเวลานานจะยิ่งทำให้เลือดไหลเวียนน้อยลง เลือดจางและอ่อนเพลียมากขึ้น

ถ้าดื่มน้ำย่านางแล้วมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก การขับถ่ายผิดปกติ เบื่ออาหาร วิงเวียนศีรษะ และหน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า ชาตามปลายมือปลายเท้า ให้หยุดรับประทานทันที

วิธีการทำน้ำใบย่านาง

โดยส่วนใหญ่แล้วการนำย่านางมาใช้นั้นมักจะนำมาใช้โดยการคั้นน้ำและเอาไปเป็นส่วนผสมในการทำอาหารนำมาดื่มเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ซึ่งหมอเขียวก็ได้แนะนำวิธีใช้ใบย่านางเอาไว้ในหนังสือ เรามาดูกันดีกว่าว่า น้ำใบย่านางนั้นมีวิธีการทำอย่างไรบ้าง

วิธีการทำน้ำใบย่านางสูตรหมอเขียว

สูตรนี้ เป็นการใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิลล์ คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลของร่างกาย ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้

ใบย่านาง

– เด็ก ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว 200-600 ซีซี

– ผู้ใหญ่ ที่รูปร่างผอม บางเล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว

– ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็ก ทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว

– ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วน ตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว

วิธีทำ

1. ใช้ใบย่านางสด มาล้างทำความสะอาดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น (แต่การปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า จะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของย่านาง)

2. กรองน้ำใบย่านางที่ได้ผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ

3. ดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหาร หรือตอนท้องว่างหรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำ เพราะถ้าเกิน 4 ชม. มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม แต่ถ้าแช่ในตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วันโดยให้สังเกตุที่กลิ่นเปรี้ยวเป็นหลัก

หมายเหตุ

ถ้าจะให้ได้รสชาติ คั้นกับใบเตย จะหอมอร่อยมาก หรือจะใส่กับน้ำมะพร้าวก็จะหอมชื่นใจมากขึ้น ( แต่ถ้าใส่น้ำมะพร้าวจะเสียเร็วนะ) ผักฤทธิ์เย็น นำมาคั้นร่วมกับย่านางก็ได้ เช่น ผักบุ้ง ตำลึง ใบบัวบก ใบเตย

ขอขอบคุณที่มาจาก : https://www.share-si.com/2018/07/blog-post_199.html